ปัจจุบันเว็บไซต์เกิดขึ้นมากมาย ขณะเดี่ยวกันมิจฉาชีพก็เติบโตมาพร้อมกับเทคนิคและเทคโนโลยีขึ้นมาพร้อมกัน ในหลากหลายรูปแบบ ทำให้มีกฏหมายที่สำคัญที่ผู้มีเว็บไซต์ที่ต้องการประกอบธุรกิจสุจริต และป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ซื้อรวมถึงผู้ขาย ซึ่งก่อนหน้านี้มีการอ้างอิงบทความต่างๆ ของหน่วยงานดังกล่าว
แต่กฏหมายที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดอย่างแน่นอน พร้อมกับเป็นการสร้างความเชื่อมันผู้มาเยื่ยมรวมถึงผู้ซื้อ นั่นคือ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำหรับกฏหมายถัดไปสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ ที่อาศัยเว็บไซต์เป็นช่องทางการขาย และเป็นขายที่มีระบบตระกร้า และให้ผู้ซื้อจ่ายเงินทันที โดยยังไม่เห็นสินค้า ในส่วนนี้ก่อนทำธุรกิจหรือธุรกรรม ต้องไปจดขออนุญาตกับ สคบ. (กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง) มิฉะนั้นหากทาง สคบ. ตรวจพบว่า มีการทำธุรกรรมก่อน ที่ขออนุญาต จะมีค่าปรับ 100,000 บาท และปรับวันละ 10,000 บาทต่อวัน โดยพรบ.มีประกาศใช้ 2545 ดังนั้น ควรมีการจดทะเบียนสคบ.ก่อนทำธุรกิจหรือธุรกรรมใด เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคด้วย (ก่อนจะจดทะเบียนสคบ. ต้องผ่านการจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจแล้ว ขั้นถัดมายื่นเอกสารกับทางสคบ.) มีเว็บไซต์ดี สร้างความเชื่อมั่นผู้ซื้อด้วยการจดทะเบียนให้ถูกกฏหมาย มีดังนี้ 1. การสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับร้านค้าออนไลน์ /DBD Registered / DBD Verified) 2. จดทะเบียนขออนุญาตกับ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง (สคบ.) - จดก่อนเปิดระบบตระกร้าร้านค้า มิฉะนั้นเสี่ยงค่าปรับโทษ 100,000 บาท และวันละ 10,000 บาทต่อวัน สำหรับเอกสาร และวิธีการสามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ 1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การจดทะเบียนพาณิชย์ คลิกที่นี่ เบอร์โทรติดต่อ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0 2547 4446-7 e-Mail : [email protected] กองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ ชั้น 9 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้ำ) หรือ อ่านรายละเอียด/ดาว์นโหลดแบบฟอร์มการจดทะเบียนพาณิชย์ ได้ที่ http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=373 เอกสารต่างๆ ที่สำคัญในส่วนกรมพัฒนธุรกิจการค้า การตรวจสอบธุกริจขายตรง แบบจริงหรือเก๊ การส่งเสริมพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ 2. จดทะเบียนอนุญาตขายออนไลน์ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง (สคบ.) คลิกที่นี่ เบอร์โทรติดต่อ โทร . 021413420-23, 021430364-47 สายด่วน 1166 เอกสารต่างๆ ที่สำคัญในส่วน สคบ. กฏหมายพระราชบัญญัติ สำหรับการขายออนไลน์ ถือเป็นการขายตรงแบบธุรกิจตลาดแบบตรง การขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงที่ต้องจดทะเบียนต่อ สคบ. แนะนำเปิดขายของออนไลน์สร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าต้องจดทะเบียนกับสคบ.ก่อน สำหรับการจดทะเบียนเป็นสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และเป็นการเผยแพร่เว็บไซต์ทางหนึ่ง ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจถือเป็นช่องทางที่ทำให้ลูกค้ามั่นใจ และเป็นจุดเสริมความเชื่อมั่นด้วย ขอจบบทความเท่านี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใด สามารถติชมแจ้งมาได้ ทางทีมงานยินดีรับมาปรับปรุง และขออภัยมา ณ ที่นี่หากมีสิ่งที่บกพร่องไม่ถูกต้อง
0 Comments
อ้างอิงบทความ จากสมาคมขายตรง ๑. ความเป็นมาและสภาพปัญหา
ในยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ การซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต หรือที่นิยมเรียกว่า e-commerce นั้น นับว่าเป็นธุรกรรมที่นิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก เนื่องจากอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากใน โลกใบนี้ไปแล้ว ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้ขยายวงกว้างมากขึ้นทุกวัน ประกอบกับการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นวิธีการทำตลาดที่สามารถ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำอีกด้วย ปัญหาที่ตามมาจากการซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตที่มีผู้บริโภคร้องเรียน ต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นจำนวนมาก ก็คือ สั่งซื้อสินค้าโดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารหรือผ่านบัตรเครดิตแล้วแต่ไม่ได้ รับสินค้า ได้รับสินค้าชำรุดบกพร่อง สินค้าไม่ได้มาตรฐาน สินค้าไม่เป็นไปตามที่โฆษณา ติดต่อผู้ขายไม่ได้ เหล่านี้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น บางกรณีสั่งซื้อสินค้าประเภทยาลดความอ้วนโดยหลงเชื่อคำโฆษณาที่มักโอ้อวด เป็นเท็จ เกินจริง แล้วไปใช้ผิดวิธี ไม่ได้ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ จนให้เสียชีวิตไปดังที่ปรากฏเป็นข่าวก็มี ดังนั้น ปัญหาที่เกิดจากการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตนอกจากที่กล่าวมาแล้ว จึงควบคู่มากับการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สุจริต หวังแต่เพียงกำไรโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนั้น ผู้บริโภคที่สั่งซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตต้องระมัดระวังและตระหนักใน ปัญหาเหล่านี้ให้จงหนัก ๒. ธุรกิจซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตที่ต้องจดทะเบียน ผู้ประกอบธุรกิจที่ทำการค้าขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนต่อ สคบ. ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.๒๕๔๕ ก่อน จึงจะทำการค้าได้ เหตุที่กฎหมายต้องบังคับให้ต้องจดทะเบียนก็เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถ ตรวจสอบหรือติดตามผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลผู้ค้าขายได้ หากผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ์จากการซื้อสินค้าหรือบริการ ขอย้ำว่า ผู้ทำการค้าขายสินค้าผ่านสื่อหรืออินเตอร์เน็ตที่ว่านี้ต้องได้รับอนุญาต ก่อนจึงจะทำการค้าขายได้ มิใช่ค้าขายไปก่อนแล้วไปจดทะเบียนภายหลัง (จดก่อนขายมิใช่ขายก่อนจด) โดยแยกบุคคลที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนเพื่อทำการค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ตดัง นี้ ๑. กรณีเจ้าของเว็บไซต์ที่จดทะเบียนเว็บไซต์ไว้เพื่อขายสินค้าของตนเองก็ดี หรือเป็นคนกลางในการนำสินค้าของบุคคลอื่นมาขายผ่านหน้าเว็บไซต์ก็ดี มีหน้าที่โดยตรงในการต้องไปจดทะเบียนต่อ สคบ. ตัวอย่างเช่น บริษัท เอ จำกัด จดทะเบียนเว็บไซต์ ชื่อ www.I Love Shopping.com โดย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำสินค้าของบุคคล จำนวน ๑๐๐ รายการ มาขายให้แก่บุคคลทั่วไป กรณีเช่นนี้ บริษัท เอ จำกัด มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนต่อ สคบ.ก่อนจึงจะทำการค้าขายได้ ส่วนบุคคลที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า ที่เป็นเจ้าของสินค้าจำนวน ๑๐๐ รายการ นั้น หากเจ้าของเวบไซต์ดังกล่าว ได้จดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ.แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนต่อ สคบ.อีก ทั้งนี้ เจ้าของเว็บไซต์จะต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดหรือประเภทของสินค้า ชื่อที่อยู่ของเจ้าของผลิตภัณฑ์ วิธีการซื้อขาย เงื่อนไขต่างๆ ให้นายทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงทราบด้วย หากมีปัญหาการผิดสัญญาก็ดี สินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ปลอดภัยก็ดี สคบ.ย่อมสามารถตรวจสอบและติดตามผู้ต้องรับผิดได้ ๒. กรณีบริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลธรรมดา ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้ขาย หากจดทะเบียนเว็บไซต์เพื่อค้าขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นของตนเอง โดยไม่ผ่านเว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางดังที่กล่าวมาในข้อ ๑. เป็นผู้มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ.โดยตรง ตัวอย่างเช่น บริษัท เอ จำกัด เป็นผู้ผลิตสินค้าเครื่องสำอางเพื่อจำหน่าย โดยมีการจำหน่ายผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่ออินเตอร์เน็ต เป็นต้น บริษัท เอ จำกัด ต้องยื่นจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรง (ขายสินค้าผ่านสื่อ) ก่อน จึงจะทำการจำหน่ายสินค้าผ่านสื่อดังกล่าวได้ ๓. ธุรกิจตลาดแบบตรง ที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนต่อ สคบ. ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.๒๕๔๕ หมายรวมถึง บุคคลที่ทำการค้าขายสินค้าผ่านสื่ออื่นๆ ด้วย เช่น สื่อโทรศัพท์ โทรสาร หรือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอื่นๆ ตัวอย่างเช่น (๑) บริษัท บี จำกัด เปิดสายด่วนหมายเลข 9999 เพื่อเป็นสื่อกลางหรือเป็นหน้าตัวแทนนายหน้าในการซื้อขายสินค้าไม่ว่าเป็น ผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือผลิตภัณฑ์ของบุคคลอื่นให้แก่ผู้บริโภค กรณีเช่นนี้บริษัท บี จำกัด มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ.ด้วยเช่นกัน (๒) นางสาวสวย รูปงาม เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายรายการ จัดให้มีการโฆษณาสินค้าดังกล่าวผ่านโทรทัศน์ดาวเทียม โดยจัดให้มีการโทรศัพท์ สั่งซื้อสินค้าผ่านรายการด้วย กรณีเช่นนี้ นางสาวสวยฯ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรงก่อนจึงจะทำการค้าขายสินค้าผ่านสื่อ โทรศัพท์ได้ ๓. บทกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำการฝ่าฝืน ผู้ใดประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (ค้าขายสินค้าผ่านสื่อ) โดยไม่จดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ (มาตรา ๔๗ แห่ง พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.๒๕๔๕) ๔. ธุรกิจที่ไม่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียนบริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลธรรมดา ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้ขาย ที่ทำการโฆษณาสินค้าผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่ออินเตอร์เน็ตด้วย นั้น หากประสงค์เพียงโฆษณาสินค้าหรือบริการผ่านสื่อเพียงอย่างเดียว โดยมิได้ประสงค์หรือมุ่งที่จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่อด้วย แล้ว ไม่มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ.แต่อย่างใด ธุรกิจประเภทนี้มุ่งที่จะทำการตลาดในลักษณะค้าปลีกหรือค้าส่งเท่านั้น แต่การโฆษณาสินค้าหรือบริการก็เพื่อให้บริโภครู้จักมักคุ้นกับชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้า หรือตัวสินค้าเท่านั้น และหากผู้บริโภคต้องการจะซื้อสินค้าก็สามารถไปเลือกซื้อได้ที่ร้านจำหน่าย ทั่วไป โดยผู้บริโภคสามารถเห็นตัวสินค้า เห็นฉลากสินค้า เห็นรายละเอียดต่างๆ ที่ตัวผลิตภัณฑ์นั้นโดยตรง ซึ่งต่างจากการสั่งซื้อสินค้าผ่านสื่อที่ผู้บริโภคไม่มีโอกาสได้เห็นตัว สินค้าก่อนที่จะทำการซื้อขาย ข้อสังเกต (๑) ผู้ประกอบธุรกิจที่ทำการค้าขายสินค้าผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสื่ออินเตอร์เน็ต นั้น นอกจากมีหน้าที่ต้องจะทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ.ตาม พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.๒๕๔๕ แล้ว ยังมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ มีตัวตนจริงหรือไม่ อยู่ที่ไหน ทำธุรกิจอะไรบ้าง (ต้องจดทะเบียนทั้งต่อ สคบ. และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) (๒) กรณีมีข้อสงสัย หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สคบ. หมายเลขโทรศัพท์ ๐-๒๑๔๓ - ๐๓๖๕- ๖ หรือสายด่วน ๑๑๖๖ ------------------------ นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา การสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับร้านค้าออนไลน์ /DBD Registered / DBD Verified) อ้างอิง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การให้เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) *เครื่องหมาย DBD Registered เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว สามารถขอรับเครื่องหมาย DBD Registered เพื่อติดตั้งที่ร้านค้าออนไลน์ หลักฐานที่ใช้ ประกอบด้วย (1) สำเนาแบบ พ.ค. 0403 และ (2) สำเนาเอกสารแนบแบบ ท.พ. ที่ใช้ในคราวยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี) สถานที่ขอเครื่องหมาย - สมัครออนไลน์ผ่าน www.trustmarkthai.com - กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้ำ) โทร 0-2547-5959-60 โทรสาร 0-2547-5973 e-Mail : [email protected] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.trustmarkthai.com * เครื่องหมาย DBD Verified การให้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Verified) เพื่อรับรองมาตรฐานการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดีสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งผู้ประกอบการสามารถขอเครื่องหมายฯ ผ่านหน้า เว็บไซต์ www.trustmarkthai.com โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกอบการที่จะได้รับ เครื่องหมายฯ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน และผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้อ้างอิงจากมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อให้เป็นสากล และยอมรับอย่าง แพร่หลาย ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ www.trustmarkthai.com
1. ห้ามประกาศขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ /สินค้าที่มีตัวแทนจำหน่ายอย่างถูกต้อง เช่น ซีรีย์เกาหลี , DVD ภาพยนตร์, กระเป๋า Brand name, นาฬิกา Brand name
2. ห้ามประกาศขายสินค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อ.ย. เช่น ยารักษาโรค, ครีมหมอจุฬา, ครีมหน้าขาว, ยาลดน้ำหนัก, เครื่องมือแพทย์, อาหารเสริม 3. ห้ามประกาศขายสินค้าที่เป็นอาหารหรือยาที่ไม่มีใบอนุญาตให้โฆษณา 4. ห้ามประกาศขายสินค้าที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เช่น โฆษณาว่า สามารถป้องกัน/รักษาได้อย่างศักดิ์สิทธิ์/ หายขาด หรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น , บรรเทา/รักษา/ป้องกันโรคมะเร็ง อัมพาต เป็นต้น 5. ห้ามประกาศขายสินค้าลามก อนาจาร ซีดีรูปภาพลามกอนาจาร 6. ห้ามประกาศขายอาวุธ และสินค้าผิดกฎหมาย เช่น ปืน, บารากุ, บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 7. ห้ามประกาศขายสินค้าหรือรูปสัญลักษณ์ของ เหล้า หรือ เบียร์ ทุกชนิด 8. ห้ามใช้รูปภาพที่เป็นลิขสิทธิ์ของผู้อื่น อ้างอิงจากเว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจ -กฎหมายทะเบียนพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ทั้งบุคคลและนิติบุคคล ต้องจดทะเบียนพาณิชย์พาณิชยกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ (ที่ว่าการเขต กทม / อบต / เทศบาล / เมืองพัทยา )
-กฏหมายขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าทางออนไลน์ที่เข้าข่ายการตลาดแบบตรง ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนทำการค้า -กฏหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ห้ามมิให้ปฏิเสธในการมีผลผูกพันและการบังคับใช้กฎหมายของข้อความที่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกสิ์ หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ -กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ครอบคลุมถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการ หรือแม้แต่ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ -กฏหมายคุ้มครองข้อมูส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่มีหลักการเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว อันเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรอง และกำหนดหลักการพื้นฐานในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกฎ ระเบียบการประกอบธุรกิจทั่วไป -ประมวลกฎหมายอาญา กำกับดูแลการประกอบการที่มีเจตนาทุจริต ฉ้อโกง หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ที่หลอกลวงเอาทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ -กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กำกับดูแลการโฆษณาต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค มีเจตนาก่อให้เกิดการเข้าใจผิด ไม่ว่าข้อความดังกล่าวจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค -กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา คุ้มครองการละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการลอกเลียน การทำซ้ำ เพื่อนำไปขาย เผยแพร่ต่อสาธารณะชน หรือ แจกจ่าย หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงพาณิชย์ -กฎหมายกำกับดูแลอาหารและยา กำหนดมาตรฐานอาหาร/ยา การแสดงฉลากและโฆษณา รวมทั้งสถานที่ผลิต นำเข้า จำหน่าย กำกับดูแลให้มีการขึ้นทะเบียน การขออนุญาตโฆษณาอาหาร/ยา ตามที่กำหนด หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงสาธารณสุข -กฎหมายศุลกากร กำกับดูแลการจำหน่าย ซื้อ ซ่อนเร้น รับจำนำหรือรับไว้ซึ่งของที่รู้ว่ายังมิได้เสียค่าภาษีหรือที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยยังไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงการคลัง - กฎหมายภาษีอากร ผู้มีเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีประจำปี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้พึงประเมินตลอดปีภาษี มาคำนวณภาษี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี ภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ต้องนำกำไรสุทธิของกิจการมาคำนวณภาษี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หน่วยงานรับผิดชอบ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง นอกจากนี้ยังมีกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับประเภทธุรกิจที่ขาย/บริการโดยเฉพาะที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจช่องทางปกติ |
ทีมงานทริปเปิ้ลซิสเต็มส์
จากพัฒนาหน้าจอเปลี่ยนเป็นการสื่อด้วยการเขียนอิสระ Archives
October 2023
Categories
All
|